facebook messenger

ประกันภัยมีกี่ประเภท? เลือกประกันภัยแบบไหนดีให้ตอบโจทย์ทุกช่วงชีวิต

ประกันภัยมีกี่ประเภท และควรเลือกประกันแบบไหนดี

การวางแผนทางการเงินเป็นสิ่งสำคัญในทุกช่วงของชีวิต และการทำประกันภัยก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้เรามีความมั่นคงทางการเงินและสามารถรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้อย่างไม่ต้องกังวล แต่คำถามที่หลายคนมักสงสัยคือ เราควรเริ่มทำประกันเมื่อไหร่ ประกันภัยมีอะไรบ้างและควรเลือกประกันแบบไหนให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงชีวิต

การเริ่มต้นทำประกันตั้งแต่อายุยังน้อยนั้นมีข้อดีหลายประการ และยังช่วยให้เรามีเวลาในการวางแผนและปรับเปลี่ยนความคุ้มครองให้เหมาะสมกับช่วงชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคตได้อีกด้วย หากมีคำถามว่าประกันภัยมีกี่แบบบทความนี้เราจะมาพูดถึงประกันแต่ละประเภทพร้อมทั้งอธิบายว่าช่วงอายุไหนที่เหมาะสมที่จะทำประกันในแต่ละประเภท

ประกันภัยคืออะไร

ประกันภัย คือ สัญญาระหว่างผู้เอาประกันภัยกับบริษัทประกันภัย โดยผู้เอาประกันภัยตกลงจ่ายเบี้ยประกันให้แก่บริษัทประกันภัย และบริษัทประกันภัยตกลงจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนหรือเงินผลประโยชน์ให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับผลประโยชน์ เมื่อเกิดเหตุการณ์ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
 
ประกันภัยมีกี่แบบที่ตอบโจทย์ทุกช่วงชีวีต

ประกันภัยมีกี่ประเภท

ถ้าจะถามว่าประกันภัยมีอะไรบ้างหากแบ่งตามเกณฑ์มาตรฐานว่าประกันภัยมีกี่แบบ ประกันภัยจะแบ่งได้ทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ ประกันภัยบุคคล ประกันภัยทรัพย์สิน และประกันภัยเกี่ยวกับความรับผิดตามกฎหมาย โดยประกันภัยแต่ละประเภทจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 

1. ประกันภัยบุคคล

   คือการทำประกันต่อภัยที่อาจจะเกิดขึ้นและสร้างความเสียหายต่อบุคคลโดยแบ่งแยกย่อยได้ตามนี้ 

1.1 ประกันภัยอุบัติเหตุ

ประกันภัยอุบัติเหตุคือประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองในกรณีที่ผู้เอาประกันประสบอุบัติเหตุ ครอบคลุมการเสียชีวิต ทุพพลภาพ และการบาดเจ็บ โดยจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามความรุนแรงของเหตุการณ์ หรือตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ผลประโยชน์รวมถึงค่ารักษาพยาบาล เงินชดเชยรายได้ระหว่างพักฟื้น และเงินก้อนในกรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวร แต่จะให้ความคุ้มครองเฉพาะอุบัติเหตุเท่านั้น ไม่รวมการเจ็บป่วยทั่วไป เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองเพิ่มเติมจากความเสี่ยงในชีวิตประจำวัน

ประกันภัยอุบัติเหตุคุ้มครองอะไรบ้าง 

  • จ่ายเงินชดเชยเมื่อเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ (เงื่อนไขตามกรมธรรม์กำหนด เนื่องจากอาจจะไม่ครอบคลุมการเสียชีวิตจากการขับขี่จักยานยนต์ การทำร้ายร่างกายหรือการถูกฆาตกรรม)
  • จ่ายเงินชดเชยสูญเสียอวัยวะจากอุบัติเหตุ
  • จ่ายเงินชดเชยเมื่อทุพพลภาพถาวรจากอุบัติเหตุ
  • จ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุให้ผู้เอาประกัน
  • จ่ายเงินเมื่อกระดูกแตกหัก ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก และการบาดเจ็บอวัยวะภายในจากอุบัติเหตุ
  • จ่ายเงินเมื่อเกิดเหตุในระหว่างเป็นผู้โดยสารของระบบขนส่งสาธารณะ หรือเกิดอุบัติเหตุภายในอาคาร หรือสถานที่สาธารณะไม่ว่าจะเป็นของราชการหรือเอกชน

ข้อดีของการทำประกันภัยอุบัติเหตุมีอะไรบ้าง

  • เป็นประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมทุกช่วงอายุ (ขึ้นอยู่กับแผนประกันภัย)
  • เป็นประกันไม่ต้องตรวจสุขภาพ สามารถซื้อ และคุ้มครองได้ทันที
  • ไม่ว่าจะเจ็บเล็ก หรือเจ็บหนัก ถ้าเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุขึ้นมา สามารถไปที่โรงพยาบาลในเครือข่าย พร้อมยื่น PA Card ที่สำคัญไม่ต้องสำรองจ่ายไปก่อนตามวงเงินที่เราได้รับ (ขึ้นอยู่กับผู้ให้ประกันภัย ปัจจุบันบางบริษัทใช้เป็น Application)
  • กรณีที่เสียชีวิต หรือทุพพลภาพจากอุบัติเหตุ ประกันภัยอุบัติเหตุมีเงินชดเชยให้
  • แบ่งเบาภาระ และค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัว เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่ายา ค่าตรวจรักษา

ประกันภัยอุบัติเหตุมีกี่แบบ

1. ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ให้ความคุ้มครองเฉพาะรายบุคคล สามารถปรับแต่งความคุ้มครองได้ตามความต้องการ
2. ประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่ม มักเป็นสวัสดิการที่บริษัทจัดให้พนักงาน ให้ความคุ้มครองแก่สมาชิกในกลุ่มทั้งหมด
3. ประกันภัยอุบัติเหตุสำหรับนักเรียน นักศึกษา ออกแบบมาเฉพาะสำหรับกลุ่มนักเรียน นักศึกษา มักมีความคุ้มครองที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมในสถานศึกษา 4. ประกันภัยอุบัติเหตุการเดินทาง ให้ความคุ้มครองเฉพาะช่วงที่เดินทาง เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องเดินทางบ่อย

 

ประกันภัยอุบัติเหตุเหมาะกับใคร

1. ผู้ที่ทำงานเสี่ยงอันตราย เช่น งานก่อสร้าง งานในโรงงาน หรืองานที่ต้องเดินทางบ่อย
2. ผู้ที่มีกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่มีความเสี่ยง เช่น นักกีฬา ผู้ชอบกิจกรรมผจญภัย (แผนประกันอุบัติเหตุส่วนใหญ่ไม่คุ้มครองอุบัติเหตุจากกิจกรรมอันตราย เช่น ปีนผา สเกตบอร์ด) 
3. ผู้ที่ต้องการความคุ้มครองเพิ่มเติมนอกเหนือจากประกันภัยสุขภาพ
4. ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัวและต้องการสร้างความมั่นคงทางการเงินให้ครอบครัวในกรณีเกิดเหตุไม่คาดฝัน
5. ผู้ที่ใช้ยานพาหนะเป็นประจำ เช่น ขับรถ ขี่มอเตอร์ไซค์ (บางแผนประกันอุบัติเหตุไม่ครอบคลุมการขับขี่จักรยานยนต์)
6. ผู้ที่ต้องการความคุ้มครองสำหรับค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุโดยเฉพาะ
7. ผู้ที่ไม่มีประกันภัยสุขภาพหรือสวัสดิการจากที่ทำงาน
ประกันภัยมีอะไรบ้างที่เหมาะกับช่วงวัย

1.2 ประกันภัยสุขภาพ

การทำประกันภัยสุขภาพ บริษัทประกันจะจ่ายค่าชดเชยแก่ผู้ที่เอาประกันภัย ไม่ว่าค่ารักษาพยาบาลนั้นจะเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยหรือว่าเกิดจากอุบัติเหตุก็ตาม และบางกรณีอาจมีการชดเชยการสูญเสียรายได้อีกด้วย

โดยประกันประเภทนี้ จะมี 2 ประเภทก็ คือ แบบแรกคือ การประกันภัยสุขภาพส่วนบุคคล (เป็นการประกันสุขภาพเฉพาะคน ๆ เดียว) และแบบที่สองจะเป็นประกันภัยสุขภาพแบบกลุ่มจะเป็นการประกันตั้งแต่บุคคล 2 คนขึ้นไปภายใต้กรมธรรม์ฉบับเดียวกัน ซึ่งประกันทั้ง 2 ประเภทนี้ให้ความคุ้มครองที่เหมือนกัน โดยจะมีการคุ้มครองหลักแบ่งได้เป็น 7 หมวดด้วยกัน ได้แก่

  • คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล
  • ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการผ่าตัด
  • ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากแพทย์มาดูแล
  • ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการรักษา คลินิกหรือผู้ป่วยนอก
  • ค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร
  • ค่าใช้จ่ายในการรักษาฟัน
  • ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการบริการจากพยาบาลพิเศษ 

ประกันภัยสุขภาพรูปแบบอื่น ๆ

ประกันภัยมีอะไรบ้าง

ประกันภัยสุขภาพแบบชดเชยรายได้

ประกันภัยสุขภาพแบบชดเชยรายได้คือประกันที่คุ้มครองผู้เอาประกันในกรณีที่ไม่สามารถทำงานได้เนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ โดยจ่ายเงินชดเชยเป็นรายเดือน (ประมาณ 70-80% ของรายได้ปกติ) ตามระยะเวลาที่กำหนดในกรมธรรม์ ความคุ้มครองเริ่มหลังจากผ่านช่วงระยะเวลารอคอย ช่วยรักษาสภาพทางการเงินของผู้เอาประกันและครอบครัวระหว่างพักรักษาตัว เหมาะสำหรับผู้ที่มีภาระทางการเงินประจำและต้องการความมั่นคงทางรายได้ แม้ในยามเจ็บป่วย

ข้อดีของการทำประกันภัยชดเชยรายได้
1. ช่วยรักษาสภาพคล่องทางการเงิน: ผู้เอาประกันยังคงมีรายได้แม้ในช่วงที่ไม่สามารถทำงานได้
2. ครอบคลุมทั้งการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุ ให้ความคุ้มครองทั้งกรณีเจ็บป่วยและประสบอุบัติเหตุ
3. ยืดหยุ่นในการใช้เงิน ผู้เอาประกันสามารถนำเงินชดเชยไปใช้จ่ายได้ตามต้องการ ไม่จำกัดเฉพาะค่ารักษาพยาบาล
4. เสริมความคุ้มครองจากสวัสดิการของบริษัท: ช่วยเพิ่มความมั่นคงทางการเงินนอกเหนือจากสวัสดิการที่ได้รับจากที่ทำงาน

วิธีการจ่ายชดเชยของประกันภัยมีอะไรบ้าง
1. กำหนดระยะเวลารอคอย โดยทั่วไปมักกำหนดไว้ประมาณ 7-14 วัน (ขอไม่ระบุวัน เพราะระยะเวลาไม่แน่นอน บางกรมธรรม์นาน 30 วัน ให้อธิบายแทนว่าระยะรอคอยคืออะไร)
2. จ่ายเงินชดเชยเป็นรายวัน หลังจากพ้นระยะเวลารอคอย บริษัทประกันจะเริ่มจ่ายเงินชดเชยเป็นรายวันตามจำนวนที่ระบุในกรมธรรม์
3. กำหนดระยะเวลาสูงสุดในการจ่ายชดเชย มักกำหนดไว้ประมาณ 365 วัน หรือ 1 ปี

 

ประกันภัยชดเชยรายได้เหมาะกับใคร

ผู้ประกอบอาชีพที่มีรายได้ไม่แน่นอน 
 เช่น ฟรีแลนซ์ อาชีพอิสระ พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ เป็นต้น เพราะอาชีพเหล่านี้หากวันไหนหยุดงานเท่ากับวันนั้นจะไม่มีรายได้เลย ซึ่งประกันภัยชดเชยรายได้จะเข้ามาสนับสนุนเงินชดเชยในแต่ละวัน ทำให้หมดกังวลเรื่องรายได้ที่จะขาดหายไปเมื่อต้องพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล
 

มนุษย์เงินเดือน
 เพราะในการเจ็บป่วยแต่ละครั้ง เราไม่มีทางทราบเลยว่าต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานานเท่าใด หากต้องรักษาตัวนาน ค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้รายวันก็ยิ่งเยอะ แค่มีสวัสดิการหรือประกันสังคมอาจจะไม่เพียงพอ แต่หากมีประกันภัยชดเชยรายได้ ประกันจะคอยดูแลในช่วงที่คุณขาดรายได้ เรียกได้ว่ามีพอประกันภัยชดเชยรายได้ นอนโรงพยาบาลกี่วันก็ไม่ต้องกังวลอีกต่อไป

ประกันภัยมีกี่ประเภท

ประกันภัยโรคร้ายแรง

ประกันภัยโรคร้ายแรงคือประกันภัยที่คุ้มครองผู้เอาประกันจากโรคที่มีอาการรุนแรงและค่ารักษาสูง เช่น มะเร็ง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคที่ระบุในกรมธรรม์ โดยผู้เอาประกันจะได้รับเงินก้อนตามวงเงินที่ระบุในกรมธรรม์เพื่อนำไปใช้ในการรักษาหรือดูแลตนเองในระหว่างที่เจ็บป่วย โดยรูปแบบการคุ้มครองสามารถเป็นได้ทั้งแบบ “เจอ จ่าย จบ” หรือเป็นวงเงินค่ารักษาพยาบาลสำหรับโรคร้ายแรง ทั้งค่ารักษา ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน หรือชดเชยรายได้ที่อาจสูญเสียไประหว่างรักษาตัว ถือว่าประกันภัยโรคร้ายแรงช่วยลดภาระทางการเงินและเพิ่มทางเลือกในการรักษา

ประกันภัยโรคร้ายแรงให้การคุ้มครองโรคอะไรบ้าง (ความคุ้มครองขึ้นอยู่กับแผนกรมธรรม์)

1. โรคมะเร็ง ทุกชนิดและทุกระยะ
2. โรคเกี่ยวกับหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน, การผ่าตัดเส้นเลือดหัวใจ
3. โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง, เนื้องอกในสมอง
4. โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูก เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
5. โรคเกี่ยวกับอวัยวะสำคัญ เช่น ไตวายเรื้อรัง, ตับวาย, ปอดอักเสบรุนแรง

 

รูปแบบความคุ้มครองของประกันภัยโรคร้ายแรง

1. จ่ายเงินก้อนตามจำนวนเอาประกันเมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายแรงตามที่ระบุในกรมธรรม์
2. คุ้มครองค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคร้ายแรง เช่น ค่ารักษาพยาบาล, ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
3. บางกรมธรรม์อาจมีการคืนเบี้ยประกันบางส่วนหากไม่เคยเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
4. บางแบบประกันอาจมีความคุ้มครองชีวิตรวมอยู่ด้วย

 

ประกันภัยโรคร้ายแรงเหมาะกับใครหากแบ่งตามช่วงวัย

Baby Boomers (อายุ 56-74 ปี)

ช่วงวัยใกล้เกษียณหรือเกษียณแล้ว เป็นช่วงวัยที่มีความเสี่ยงต่อโรคร้ายแรงสูง หากคนในเจน นี้ทำประกันภัยโรคร้ายแรงไว้ก็จะช่วยรักษาคุณภาพชีวิตในวัยเกษียณ และยังเป็นเกราะป้องกันไม่ให้ค่ารักษาพยาบาลไปกระทบกับเงินออมที่วางแผนไว้

Gen X (อายุ 40-55 ปี)

กลุ่มคนวัยกลางคนที่กำลังเผชิญความเสี่ยงด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้น พร้อมกับภาระทางการเงินที่สูง ทั้งค่าใช้จ่ายในครอบครัวและหนี้สิน การทำประกันภัยโรคร้ายแรงจึงเป็นเกราะป้องกันทางการเงินที่สำคัญ ที่ช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นหากมีเหตุการณ์การเจ็บป่วยไม่คาดฝันเกิดขึ้น

Gen Y (อายุ 25-39 ปี)

คนรุ่นใหม่ที่แม้จะมีความเสี่ยงน้อยกว่า แต่การทำประกันภัยโรคร้ายแรงตั้งแต่อายุยังน้อยจะทำให้มีโอกาสได้รับความคุ้มครองมากกว่า (ความคุ้มครองเท่ากัน แต่เบี้ยอาจถูกกว่าค่ะ) เนื่องจากสุขภาพยังแข็งแรง แต่ก็บอกไม่ได้ว่าอายุน้อยจะไม่เจอโรคร้ายแรงเพราะสภาพแวดล้อมในปัจจุบันเป็นตัวเร่งความเสี่ยงให้เกิดโรคร้ายแรงได้ง่ายกว่าเมื่อก่อนมาก


กลุ่มเสี่ยงอื่น ๆ ที่ควรทำประกันภัยโรคร้ายแรง

ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคร้ายแรง

หลายคนที่เติบโตมาจากครอบครัวที่มีคนในครอบครัวมีประวัติการป่วยเป็นโรคร้ายแรง เช่นมะเร็ง  โรคหัวใจ ในทางการแพทย์บ่งขี้ว่าคนที่พ่อแม่ หรือญาติที่เป็นมะเร็งมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งมากกว่าคนปกติทั่วไปถึง 14% ดังนั้นการมีประกันภัยโรคร้ายแรงติดไว้สักกรมธรรม์ย่อมดีกว่าการไม่มีเลย


ผู้ที่เป็นเสาหลักของครอบครัว

หลายครอบครัวมีเสาหลักที่หารายได้เลี้ยงดูคนทั้งครอบครัวเพียงแค่คนเดียว ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นเช่น หัวหน้าครอบครัวเกิดล้มป่วยด้วยโรคร้ายแรง การทำประกันภัยโรคร้ายแรงจะช่วยลดภาระทางการเงินของครอบครัวหากเกิดการเจ็บป่วย ทำให้สามารถมุ่งเน้นที่การรักษาโดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายได้

 

ประกันภัยมีกี่แบบ

1.3 ประกันชีวิต

ประกันชีวิตคือสัญญาระหว่างผู้เอาประกันและบริษัทประกัน ที่ให้ความคุ้มครองทางการเงินแก่ผู้รับผลประโยชน์ในกรณีที่ผู้เอาประกันเสียชีวิต หรือเจ็บป่วยร้ายแรง โดยผู้เอาประกันจ่ายเบี้ยประกันเป็นงวด ๆ เพื่อแลกกับการคุ้มครองนี้ ประกันชีวิตมีหลายรูปแบบ เช่น แบบตลอดชีพ แบบสะสมทรัพย์ หรือแบบชั่วระยะเวลา ซึ่งแต่ละแบบมีข้อดีต่างกันไป นอกจากการคุ้มครองชีวิตแล้ว ประกันชีวิตยังอาจมีสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เช่น การออมเงิน หรือการลดหย่อนภาษี ทำให้เป็นเครื่องมือทางการเงินที่สำคัญสำหรับการวางแผนอนาคต

ประกันชีวิตคุ้มครองอะไรบ้าง

1. กรณีเสียชีวิต
เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต ผู้รับผลประโยชน์จะได้รับเงินตามจำนวนที่ระบุในกรมธรรม์ เพื่อบรรเทาภาระทางการเงินที่อาจเกิดขึ้น หากการเสียชีวิตเกิดจากอุบัติเหตุ อาจมีการจ่ายเงินเพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละกรมธรรม์

2. กรณีมีชีวิตอยู่จนครบสัญญา
สำหรับประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ เมื่อผู้เอาประกันมีชีวิตอยู่จนครบกำหนดสัญญา จะได้รับเงินคืนตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างการคุ้มครองชีวิตและการออมเงิน

3. กรณีทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง
หากผู้เอาประกันประสบเหตุจนเกิดทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง บางกรมธรรม์อาจมีการจ่ายเงินก้อนหรือยกเว้นการชำระเบี้ยประกัน เพื่อช่วยเหลือในการดำรงชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล

ข้อดีของการทำประกันชีวีต

1.สิทธิประโยชน์ทางภาษี
การทำประกันชีวิตยังมีข้อดีด้านภาษี โดยผู้เอาประกันสามารถนำเบี้ยประกันมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด ช่วยประหยัดภาษีและเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนการเงิน

2. การกู้ยืมเงินจากกรมธรรม์
ประกันชีวิตบางแบบเปิดโอกาสให้ผู้เอาประกันสามารถกู้ยืมเงินจากมูลค่ากรมธรรม์ได้ เป็นทางเลือกในการเข้าถึงเงินทุนยามฉุกเฉิน โดยไม่ต้องยกเลิกความคุ้มครอง ทำให้กรมธรรม์มีความยืดหยุ่นมากขึ้น

ประกันชีวิตเหมาะกับใคร

  1. ผู้ที่มีคนในความดูแล เช่น พ่อแม่ที่มีลูกเล็ก หรือผู้ที่ต้องดูแลพ่อแม่สูงอายุ
  2. ผู้ที่ต้องการสร้างความมั่นคงทางการเงินให้ครอบครัวในระยะยาว
  3. ผู้ที่ต้องการวางแผนการเงินสำหรับอนาคต เช่น เพื่อการเกษียณ หรือเพื่อการศึกษาของบุตร
  4. ผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ไม่มีสวัสดิการจากนายจ้าง
  5. ผู้ที่ต้องการความคุ้มครองด้านสุขภาพเพิ่มเติม (ในกรณีที่เลือกแบบประกันที่มีความคุ้มครองสุขภาพร่วมด้วย)
  6. ผู้ที่ต้องการสิทธิประโยชน์ทางภาษี
  7. ผู้ที่มีรายได้สูงและต้องการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน
  8. ผู้ที่ต้องการความคุ้มครองตลอดชีวิต ไม่ใช่เพียงแค่กรณีอุบัติเหตุ

ทั้งนี้ประกันชีวิตยังสามารถแยกย่อยแบ่งอีก 3 ประเภท ได้แก่

ประกันชีวิตแบบสามัญ คือ การประกันชีวิตที่มีจำนวนเงินเอาประกันที่ค่อนข้างสูง เหมาะสำหรับผู้มีรายได้ปานกลางหรือสูง โดยทั่วไปกำหนดชำระเบี้ยประกันเป็นรายปี รายหกเดือน หรือรายสามเดือน การพิจารณารับประกันชีวิตทั้งแบบตรวจสุขภาพและไม่ต้องตรวจสุขภาพ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินเอาประกันภัยและอายุผู้เอาประกันภัย

ประกันชีวิตแบบอุตสาหกรรม คือการประกันชีวิตที่มีจำนวนเงินเอาประกันภัยไม่สูงมาก จึงไม่ต้องตรวจสุขภาพ การพิจารณารับประกันชีวิตอาศัยข้อมูลจากคำแถลงในใบคำขอเอาประกันภัย โดยทั่วไปกำหนดชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายเดือน อาจมีเงื่อนไขกำหนดระยะเวลารอคอยก็ได้ ระยะเวลารอคอย (Waiting Period) คือระยะเวลาที่กำหนดไว้เพื่อพิสูจน์สุขภาพของผู้เอาประกันภัย หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตในระยะเวลาดังกล่าว บริษัทจะคืนเงินเอาประกันภัย โดยทั่วไปกำหนดไว้ 180 วัน

ประกันชีวิตแบบกลุ่ม คือ การรับประกันชีวิตบุคคลหลายคนภายใต้กรมธรรม์ฉบับเดียว โดยพิจารณาถึงความเสี่ยงภัยของบุคคลในกลุ่มทั้งหมดด้วยอัตราเฉลี่ย ไม่ว่าจะเป็นอายุ เพศ หน้าที่การงาน หรือจำนวนเงินเอาประกันภัยและใช้เบี้ยประกันภัยอัตราเดียวกันบุคคลทุกคนในกลุ่มนั้น ๆ การประกันชีวิตประเภทนี้อัตราเบี้ยประกันภัยจะถูกกว่าการประกันชีวิตประเภทอื่น ๆ เหมาะสำหรับพนักงานในบริษัทต่าง ๆ

การวางแผนประกันภัยมีกี่แบบ

2. ประกันภัยทรัพย์สิน

เป็นการทำสัญญายินยอมของบริษัทรับประกัน ยินยอมที่จะชดใช้ค่าเสียหายต่อทรัพย์สินและคุ้มครองทรัพย์สิน ของผู้ที่เอาประกัน ในกรณีที่เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันไว้ โดยแบ่งหลัก ๆ ออกเป็น 4 ประเภทด้วยกัน ดังนี้

  • การประกันอัคคีภัย
  • ประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
  • ประกันภัยรถยนต์
  • ประกันภัยเบ็ดเตล็ด

3. ประกันภัยเกี่ยวกับความรับผิดตามกฎหมาย

เป็นการประกันภัยที่เกิดขึ้นจากผลของข้อกฎหมาย ที่เกิดจากการประมาทของผู้ที่เอาประกันภัย หรือลูกจ้าง คนในครอบครัว ที่ทำให้ผู้อื่น บาดเจ็บ ทุพพลภาพ หรือ เสียชีวิต หรืออาจเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน ซึ่งแบ่งประเภทได้ ดังนี้

  • ประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก (public Liability Insurance)
  • ประกันภัยความรับผิดต่อสินค้า
  • การประกันภัยความรับผิดจากวิชาชีพ เช่น วิชาชีพแพทย์

ไม่ว่าการทำประกันภัยจะมีกี่ประเภท หรือมีกี่แบบ การทำประกันภัยก็ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญในการบริหารความเสี่ยงและวางแผนทางการเงิน การเลือกทำประกันที่เหมาะสมจะช่วยให้เรามีความมั่นคงทางการเงินและสามารถรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าประกันภัยจะแบบไหนก็ทำให้เราสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมั่นใจและมีคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกช่วงวัย

Lotus’s Money Plus ได้รวมทุกแผนประกัน เลือกปรับแต่งแผนความคุ้มครองได้ตามไลฟ์สไตล์ที่คุณต้องการ ให้บริการนายหน้าโดย บจก.โลตัสส์ เจเนอรัล อินชัวรันส์ โบรคเกอร์ และบริษัท โลตัสส์ ไลฟ์ แอสชัวรันส์ โบรคเกอร์ จำกัด มาที่เดียวครบ จบ ทุกเรื่องการประกันภัย เพราะ Lotus’s Money Plus ให้บริการทั้ง ประกันภัยอุบัติเหตุ ประกันภัยสุขภาพ ประกันภัยโรคร้ายแรง ประกันภัยที่อยู่อาศัย ประกันภัยการเดินทาง และประกันชีวิต 

นอกจากนี้ถ้าใครซื้อประกันกับ Lotus’s Money Plus ก็มีโปรโมชันเด็ดโดนใจผู้ที่กำลังมองหาความคุ้มครองในขณะที่ก็ได้รับสิทธิพิเศษที่มีให้เฉพาะลูกค้าของ Lotus’s Money Plus เท่านั้น  ผู้ที่สนใจหรือกำลังมองหากรมธรรม์ที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของตัวเองสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.lotussmoney.com/insurance

แชร์บทความนี้ Facebook Facebook Messenger Line E-mail Twitter Printer https://www.lotussmoney.com/content/insurance/types-of-insurance คัดลอกลิงก์ copy

ประเภท:ประกันภัย
Tag: ประกันภัยการเดินทาง