หน้าฝนกับโรคใกล้ตัว เช็กอาการแบบไหนที่ใช่
หรือ สุ่มเสี่ยงโควิด-19?
โดยเฉพาะโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งอาการจะใกล้เคียงกับการติดเชื้อโควิด-19 ค่อนข้างมาก เช็กให้ชัวร์ เช็กให้แน่ใจกันดีกว่า อาการไหนที่ใช่..ไข้หวัดใหญ่ และ อาการที่บอกว่าสุ่มเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19
อาการของโรคไข้หวัดธรรมดา
- มีไข้ต่ำๆ ถึงมีไข้สูง ผ่านไป 3-4 วัน อาการจะเริ่มดีขึ้น
- อาจมีไอ จาม เล็กน้อย ผ่านไป 3-4 วัน อาการจะเริ่มดีขึ้น
- น้ำมูกไหล มีอาการคัดจมูก ทำให้หายใจไม่สะดวก
- ปวดตามตัว รู้สึกอ่อนเพลีย
- ไม่มีอาการท้องเสีย
อาการของโรคโควิด-19 (COVID-19)
- มีไข้สูงมากกว่า 37.5 องศา
- ปวดเมื่อยตามตัว ทานอาหารไม่ค่อยได้
- ไอ มีเสมหะ เจ็บคอ นานติดต่อกันมากกว่า 4 วัน
- บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียร่วมด้วย
- หายใจลำบากมีไอร่วมด้วย ในบางรายรุนแรงถึงขั้นปอดอักเสบ หรือปอดบวม
ไข้หวัดใหญ่และโรคโควิด-19 สามารถทำได้ในวิธีเดียวกัน หากป้องกันไข้หวัดใหญ่อย่างเคร่งครัด จะทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ลดลงตามไปด้วย ตรงกันข้ามในช่วงฤดูฝนจะมีผู้ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ต่างๆ และมีความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโควิด-19 เช่นกัน สิ่งที่ยังคงต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด คือ
- ล้างมือบ่อยๆ
- สวมหน้ากากอนามัย
- กินของร้อนใช้ช้อนกลางส่วนตัว
- เว้นระยะห่างจากบุคคลอื่นอย่างน้อย 1- 2 เมตร
- หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในพื้นที่แออัดไม่มีอากาศถ่ายเท
- ควรสำรองหน้ากากผ้าไว้วันละหลายๆชิ้น
- ถ้าโดนละอองฝนแล้วหน้ากากเปียกชื้น ควรจะเปลี่ยนใหม่เพราะหน้ากากที่เปียกชื้นจะไม่สามารถป้องกันเชื้อโรคได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
- ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดหรือเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ
- สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ต้องออกจากบ้าน
- หลีกเลี่ยงการนำมือมาจับหน้า ตา จมูกและปาก
- รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ งดรับประทานของดิบ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์หรือไข่ก็ตาม
- รักษาระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 2 เมตร
- หลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในสถานที่แออัดและไม่มีอากาศถ่ายเท
ไข้หวัดใหญ่ปกติ มักไม่มีโรคแทรกซ้อนรุนแรง มีอาการอยู่ไม่นาน หากดูแลร่างกาย พักผ่อนให้เพียงพอ อาการไข้หวัดจะค่อย ๆ หายไปเองใน 3-4 วัน ส่วนเชื้อโควิด-19 มักพบอาการปอดอักเสบ ซึ่งความรุนแรงของโรคอาจจะทำให้ถึงแก่ชีวิต และจะขึ้นอยู่กับสุขภาพร่างกายของแต่ละบุคคล